Author: สฤณี อาชวานันทกุล

Wells Fargo กับวัฒนธรรม “ทำยอด” แบบบ้าระห่ำ

/

ข่าวใหญ่ข่าวหนึ่งในแวดวงธนาคารระดับโลกประจำปี 2559 แต่น่าเสียดายที่สื่อไทยต่างพร้อมใจกันไม่รายงาน คือ ข่าว เวลส์ ฟาร์โก (Wells Fargo) ธนาคารยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกัน โดนทางการสหรัฐปรับครั้งมโหฬารถึง 185 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 6,500 ล้านบาท) โทษฐานเปิดบัญชีเงินฝากและบัญชีบัตรเครดิตให้กับลูกค้าโดยพลการ (คือไม่เคยถามลูกค้าก่อน) ถึงกว่าสองล้านบัญชี (!) ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา

“เหตุผลทางธุรกิจ” ของวิถี “ธนาคารที่ยั่งยืน”

/

“การธนาคารที่ยั่งยืน” คืออะไร เหตุใดผู้ว่าฯ แบงก์ชาติจึงมองว่าธนาคารต่างๆ ในอาเซียนจะต้องให้ความสำคัญ ทำแล้วธนาคารจะได้ประโยชน์ทางธุรกิจอะไรบ้าง ? หาคำตอบได้ในบทความนี้

กลยุทธ์ความยั่งยืนและองค์ประกอบ ของยูนิลีเวอร์

ตัวอย่างกลยุทธ์ความยั่งยืนขั้นเทพ: Sustainable Living Plan ของยูนิลีเวอร์

/

ผู้เขียนเห็นว่า กลยุทธ์ความยั่งยืนที่ “ดี” จะต้องตอบคำถามหลักๆ สี่คำถามนี้ได้อย่างชัดเจน: 1. กลยุทธ์ดังกล่าวช่วยเสริมสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน (competitive advantage) ของบริษัทอย่างไร 2. กลยุทธ์ดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างไร 3. บริษัทกำหนดและรายงานเป้าหมายสูงสุด (goals) และเป้ารายปี (annual targets) ของกลยุทธ์ดังกล่าว ต่อสาธารณะหรือไม่ 4. บริษัทมีกลไกภายในหรือไม่ที่จะสร้างหลักประกันว่า ผู้บริหารระดับสูงจะต้องรับผิดชอบต่อกลยุทธ์ความยั่งยืน – ยูนิลีเวอร์ไม่เพียงแต่ตอบคำถามทั้งสี่ข้อนี้ได้ แต่ยังตอบได้ในทางที่เห็นชัดว่า บริษัทให้ความสำคัญกับวิถีธุรกิจที่ยั่งยืนจริงๆ ใช่แต่มองมันหลวมๆ อย่างฉาบฉวยว่า เป็นเพียง “วิธีสร้างภาพลักษณ์” เท่านั้น

นักกิจกรรมจากกรีนพีซกับป้ายประท้วง Volkswagen ที่มาภาพ: http://www.businessinsider.com/this-is-the-real-cause-of-the-vw-cheating-scandal-2015-10

แน่ใจว่า “ยั่งยืน”? Volkswagen กับข้อจำกัดของ Dow Jones Sustainability Indices

/

ดัชนี DJSI ส่งเสริมบริษัทให้หันเข้าสู่วิถีที่ยั่งยืนมากขึ้น แต่ไม่บอกว่าจะต้องทำ “อย่างไร” และ “แค่ไหน” จึงจะได้รับการยอมรับจากผู้มีส่วนได้เสีย ในอนาคตเราอาจมีมาตรฐานระดับโลกที่บอกได้ว่า แต่ละบริษัทนั้น “ยั่งยืน” หรือไม่ และยั่งยืน “เพียงใด” แต่วันนี้มาตรฐานสากลต่างๆ ตั้งแต่ Global Reporting Initiative (GRI) หรือ DJSI รวมถึงมาตรฐานความยั่งยืนระดับอุตสาหกรรม อาทิ Bonsucro อย่างมากก็เป็นเพียงมาตรฐานประเภท “ส่งเสริมการเปิดเผยข้อมูล” เกี่ยวกับความยั่งยืน หรือมาตรฐาน “สนับสนุนให้บริษัทเริ่มยั่งยืน” เท่านั้น – พูดอีกอย่างคือ เป็นมาตรฐานเชิงส่งเสริม มิใช่ “รางวัลแห่งความสำเร็จ” แต่อย่างใด

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ “มายาคติพลังงาน”

/

มายาคติพลังงาน เขียนโดย สฤณี อาชวานันทกุล ณัฐเมธี สัยเวช และ สุณีย์ ม่วงเจริญ สนับสนุนทุนจัดพิมพ์โดยมูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท (FES)

Rachel Notley ผู้ว่าการมลรัฐอัลเบอร์ตา ที่มาภาพ: http://www.nationalobserver.com/2016/01/07/news/path-albertas-climate-deal

“เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” ในฐานะ “จริยธรรมสากล” และบทเรียนจากแคนาดา

/

ความคิดใหญ่ๆ อย่าง SDGs นั้นฟังดูดี แต่ “รูปธรรม” ในทางปฏิบัตินั้นยากเย็นไม่น้อย โดยเฉพาะการจะต้องนำมาปรับเปลี่ยนนโยบายการพัฒนาระดับชาติในเรื่องที่มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเข้ามาเกี่ยวข้องไม่ต่ำกว่าหลายแสนล้านบาทต่อปี การเปลี่ยนแปลงชนิด “180 องศา” ของมลรัฐอัลเบอร์ตา (Alberta) ประเทศแคนาดา เจ้าของขุมทรัพย์ทรายน้ำมัน (oil sands) จึงเป็นบทเรียนสำคัญที่ทั่วโลกควรศึกษา รวมทั้งไทยด้วย

มูลค่าตลาดของบริษัทใหญ่ เทียบกับมูลค่าตลาดหุ้นทั้งตลาดของบางประเทศ ที่มา: http://www.economist.com/news/finance-and-economics/21594476-scarce

สามปัจจัยกำหนดจุดพลิกผันทางวัฒนธรรม (cultural shift) สู่ธุรกิจที่ยั่งยืน

/

ผู้เขียนเห็นว่า จะต้องมีสามปัจจัยต่อไปนี้ในระดับ “พัฒนาการ” ที่ก้าวหน้ามากพอ จึงจะเกิด “cultural shift” หรือ “การเปลี่ยนผ่านเชิงวัฒนธรรม” สู่ “ธุรกิจที่ยั่งยืน” ในสังคมไทยได้ : ธรรมาภิบาลแบบประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง ความโปร่งใสขั้นสุดขั้วของภาคธุรกิจ และการปรับค่านิยมของสังคมให้สอดคล้องกับจริยธรรมสากล

ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)

“ธรรมาภิบาลที่กินได้” กับการเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจที่ยั่งยืน: คำถามถึง CPALL และ BEC

/

กรณีทุจริตคอร์รัปชั่นเมื่อไม่นานมานี้ของผู้บริหารระดับสูงและคู่ค้ารายสำคัญของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สองแห่ง บอกอะไรๆ ได้มากมายถึงระดับความ(ไร้)ธรรมาภิบาล ของ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) (CPALL) และ บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) (BEC)

การขจัดคราบน้ำมันที่อ่าวพร้าว ที่มาภาพ: http://i1.ytimg.com/vi/ZBEqlJljL0w/maxresdefault.jpg

ได้เวลาเลิกทำซีเอสอาร์

/

ท่ามกลางความเดือดร้อนของชาวระยองและระบบนิเวศใต้ทะเล กรณีน้ำมันรั่ว(แค่)ห้าหมื่นกว่าลิตรของ ปตท. โกลบอล เคมิคอล (พีทีทีจีซี) บริษัทเคมีภัณฑ์ยักษ์ใหญ่ในเครือ ปตท. เมื่อปลายเดือนกรกฎาคม 2556 ที่ผ่านมา ก็นับว่ามี “โชคดีในโชคร้าย” อยู่บ้าง ตรงที่ทำให้สังคมไทยลุกขึ้นมาตั้งคำถามกับการแสดง “ความรับผิดชอบต่อสังคม” หรือที่เรียกกันติดปากว่า “ซีเอสอาร์” (ย่อมาจาก corporate social responsibility) ของ ปตท.

หน้าที่ 6 จาก 6« First...23456