Blog

ทำดี ไม่หวัง (วัด) ผลกับโครงการและกิจการเพื่อสังคม?

/

ตามวัฒนธรรมไทยและความเป็นชาวพุทธ เรามักจะชินกับคำพูดที่ว่า “ทำดี ต้องไม่หวังผลตอบแทน” อาจจะเป็นด้วยเหตุนี้หลายคนที่ทำโครงการหรือกิจการเพื่อสังคมจึงมักจะพูดว่าแค่ได้ทำดีก็เพียงพอแล้ว แต่จะเกิดอะไรขึ้นหากเราไม่ทราบเลยว่าสิ่งที่เราเรียกว่าการ “ทำดี” นั้น ก่อให้เกิดผลลัพธ์อะไรบ้าง หรือก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ไม่คาดหวังโดยเฉพาะทางลบ

Wells Fargo กับวัฒนธรรม “ทำยอด” แบบบ้าระห่ำ

/

ข่าวใหญ่ข่าวหนึ่งในแวดวงธนาคารระดับโลกประจำปี 2559 แต่น่าเสียดายที่สื่อไทยต่างพร้อมใจกันไม่รายงาน คือ ข่าว เวลส์ ฟาร์โก (Wells Fargo) ธนาคารยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกัน โดนทางการสหรัฐปรับครั้งมโหฬารถึง 185 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 6,500 ล้านบาท) โทษฐานเปิดบัญชีเงินฝากและบัญชีบัตรเครดิตให้กับลูกค้าโดยพลการ (คือไม่เคยถามลูกค้าก่อน) ถึงกว่าสองล้านบัญชี (!) ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา

กินมังฯ ทำไม ?

/

นั่นสิครับ เรากินมังสวิรัติทำไม เหตุผลแรกอาจเพื่อลดการทรมาณสัตว์ในอุตสาหกรรมปศุสัตว์ เหตุผลที่สองคือการรักษาสุขภาพ และในบทความนี้ ผู้เขียนจะพาไปสำรวจเหตุผลที่สาม คือกินมังสวิรัติเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

จุดจบหรือจุดเริ่มต้นของซูเปอร์ไซเคิลราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (?)

/

ตั้งแต่ปี 2012 เป็นต้นมา ราคาสินค้าโภคภัณฑ์หลายประเภทไม่ว่าจะเป็น อาหาร น้ำมัน ถ่านหิน สินค้าทางการเกษตร เริ่มอ่อนตัวลงมาเรื่อยๆ แบบไม่มีท่าทีว่าจะหยุด ทำให้ผู้บริหารบริษัทบางแห่งต่างพากันเริ่มยิ้มแย้มดีใจ แต่แล้ว McKinsey บริษัทที่ปรึกษาทางธุรกิจระดับโลก กลับออกมาบอกว่าราคาสินค้าโภคภัณฑ์มีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงหรือผันผวนมากขึ้นไปอีก

เกษตรอินทรีย์ในไทย จะโตได้ต้องใช้ยาหลายขนาน

/

การขาดกลไกทางการเงินที่จะสนับสนุนการทำเกษตรอินทรีย์อย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง “ระยะเปลี่ยนผ่าน” ก่อนที่จะได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ซึ่งล่าสุดโครงการวิจัย “แรงจูงใจทางการเงิน เพื่อส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย” พบว่ามีแรงจูงใจทางการเงินหลายอย่างที่มีศักยภาพในการสนับสนุนให้เกษตรกรหันมาทำเกษตรอินทรีย์

กลยุทธ์ความยั่งยืนและองค์ประกอบ ของยูนิลีเวอร์

ตัวอย่างกลยุทธ์ความยั่งยืนขั้นเทพ: Sustainable Living Plan ของยูนิลีเวอร์

/

ผู้เขียนเห็นว่า กลยุทธ์ความยั่งยืนที่ “ดี” จะต้องตอบคำถามหลักๆ สี่คำถามนี้ได้อย่างชัดเจน: 1. กลยุทธ์ดังกล่าวช่วยเสริมสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน (competitive advantage) ของบริษัทอย่างไร 2. กลยุทธ์ดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างไร 3. บริษัทกำหนดและรายงานเป้าหมายสูงสุด (goals) และเป้ารายปี (annual targets) ของกลยุทธ์ดังกล่าว ต่อสาธารณะหรือไม่ 4. บริษัทมีกลไกภายในหรือไม่ที่จะสร้างหลักประกันว่า ผู้บริหารระดับสูงจะต้องรับผิดชอบต่อกลยุทธ์ความยั่งยืน – ยูนิลีเวอร์ไม่เพียงแต่ตอบคำถามทั้งสี่ข้อนี้ได้ แต่ยังตอบได้ในทางที่เห็นชัดว่า บริษัทให้ความสำคัญกับวิถีธุรกิจที่ยั่งยืนจริงๆ ใช่แต่มองมันหลวมๆ อย่างฉาบฉวยว่า เป็นเพียง “วิธีสร้างภาพลักษณ์” เท่านั้น

Ecolabel – เขียวติดป้าย

/

ในฐานะผู้บริโภค คงเป็นเรื่องยากที่จะรับรู้ปัญหาในห่วงโซ่อุปทานอันยาวเหยียดของเสื้อผ้าที่หรืออาหาร และ คงไม่น่าสนุกนัก หากขณะช้อปปิ้งสิ้นค้าในโมเดิร์นเทรดทุกชิ้น เราจำเป็นต้องค้นข้อมูลว่าสินค้าดังกล่าวมีข่าวผลกระทบเชิงลบหรือไม่ ภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรไม่แสวงหากำไรก็สร้าง ‘ทางออก’ ที่เปรียบเสมือนข้อมูลยืนยันกับผู้บริโภคว่าสินค้าที่กำลังเลือกซื้ออยู่นั้น ‘มีความรับผิดชอบ’ โดยย่นย่อข้อมูลข่าวสารมาในรูปแบบตราสัญลักษณ์บนสินค้าหรือที่รู้จักกันในชื่อ Ecolabel

รอยเท้าของคนเมือง ตอน โทรศัพท์มือถือกับความตายของกอริลล่า

/

ข่าวของ “ฮารัมเบ” สร้างความเศร้า เสียใจ และสะเทือนใจให้กับคนที่ได้รับรู้ รวมถึงก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างดุเดือดทั้งบนสังคมออนไลน์และออฟไลน์ เป็นเรื่องน่ายินดีที่ผู้คนจำนวนไม่น้อยให้คุณค่าแก่การดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตอื่นไม่ต่างจากมนุษย์เรา แต่ถ้ายังมีเพื่อนกอริลล่าของฮารัมเบอีกหลายชีวิตกำลังถูกคุกคาม เราจะรู้สึกอย่างไร และอยากจะช่วยเหลือหรือไม่ สิ่งที่น่าตกใจคือภัยคุกคามชีวิตกอริลล่านี้เชื่อมโยงกับชีวิตคนเมืองมากกว่าที่เราคิด….

นักกิจกรรมจากกรีนพีซกับป้ายประท้วง Volkswagen ที่มาภาพ: http://www.businessinsider.com/this-is-the-real-cause-of-the-vw-cheating-scandal-2015-10

แน่ใจว่า “ยั่งยืน”? Volkswagen กับข้อจำกัดของ Dow Jones Sustainability Indices

/

ดัชนี DJSI ส่งเสริมบริษัทให้หันเข้าสู่วิถีที่ยั่งยืนมากขึ้น แต่ไม่บอกว่าจะต้องทำ “อย่างไร” และ “แค่ไหน” จึงจะได้รับการยอมรับจากผู้มีส่วนได้เสีย ในอนาคตเราอาจมีมาตรฐานระดับโลกที่บอกได้ว่า แต่ละบริษัทนั้น “ยั่งยืน” หรือไม่ และยั่งยืน “เพียงใด” แต่วันนี้มาตรฐานสากลต่างๆ ตั้งแต่ Global Reporting Initiative (GRI) หรือ DJSI รวมถึงมาตรฐานความยั่งยืนระดับอุตสาหกรรม อาทิ Bonsucro อย่างมากก็เป็นเพียงมาตรฐานประเภท “ส่งเสริมการเปิดเผยข้อมูล” เกี่ยวกับความยั่งยืน หรือมาตรฐาน “สนับสนุนให้บริษัทเริ่มยั่งยืน” เท่านั้น – พูดอีกอย่างคือ เป็นมาตรฐานเชิงส่งเสริม มิใช่ “รางวัลแห่งความสำเร็จ” แต่อย่างใด

วิกฤตสีฟ้า (2) – น้ำกับความเสี่ยงในภาคธุรกิจ

/

รายงานความเสี่ยงโลก พ.ศ. 2559 (The Global Risk Report 2016) ระบุว่า ‘วิกฤตสีฟ้า’ ติด 1 ใน 10 ความเสี่ยงที่มีความเป็นไปได้และจะสร้างผลกระทบมากที่สุดทั้งต่อภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในอีก 10 ปีข้างหน้า น้ำยังเป็นส่วนประกอบสำคัญในห่วงโซ่อุปทานของแทบทุกอุตสาหกรรมและยากที่จะหาวัตถุดิบอื่นมาทดแทน ผู้บริหารและนักลงทุนจึงมีความจำเป็นที่จะต้องประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับน้ำ เพื่อเตรียมรับมือกับวิกฤตที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

หน้าที่ 9 จาก 15« First...7891011...Last »